แม้ว่าอัตราการเติบโตของคอนโดมิเนียมจะกระจุกตัวอยู่บริเวณใจกลางของกรุงเทพฯ แต่หากลองสังเกตุจะพบว่า ส่วนใหญ่คอนโดมิเนียมที่ประสบความสำร็จนั้นมักจะตั้งอยู่แถวชานเมืองเสียมากกว่า
5 อันดับแรกของคอนโดมิเนียมในย่านต่างๆของกรุงเทพฯ ที่มีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2563 เรียงตามลำดับได้ดังนี้ 1. คลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีอัตราเพิ่มขึ้นอยู่ทิ่ 63% เมื่อเทียบจากปีก่อน 2. คลองต้นไทร เขตคลองสาน ย่านเดียวกับที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม มีอัตราเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 14% 3. ลุมพินี เขตปทุมวัน มีอัตราเพิ่มขึ้นอยู่ที่10% 4. แขวงสี่พระยา เขตบางรัก มีอัตราเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9% และลำดับที่ 5 ลำดับสุดท้าย คือ ปทุมวัน ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาเท่ากันกับเขตบางรักที่ 9% ปัจจุบันอุปทานของคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ เริ่มชะลอตัวและลดลง เนื่องจากผู้พัฒนาหลายรายได้เลือนการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ที่มีมูลค่าสูง เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาในตลาดที่จะทำให้ราคาต่ำลง และรอผลตอบที่ดีขึ้น ในปีพ.ศ. 2563 แขวงสวนหลวงมีอุปทานเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 233% อีกทั้ง บางจาก และพระโขนงได้มีอุปทานของทาวน์เฮาส์สูงเช่นกันในอัตรา 78%
เมื่อดูจากราคา อุปทานอัตรา 34% เป็นคอนโดมิเนียมที่ราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท และอีก 29% สำหรับคอนโดมิเนียมในราคา 1-3 ล้านบาท ในขณะที่คอนโดมิเนียมราคา 5-10 ล้านบาท และราคา 3-5 ล้านบาท มีอัตราอุปทานลดลงมา 7% และ 3% ตามลำดับ ในกรุงเทพฯ คอนโดมิเนียมคิดเป็น 88% ของอุปทานที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยวคิดเป็น 7% ทาวน์เฮาส์คิดเป็น 5% จากที่กล่าวมานี้ คอนโดมิเนียมจำนวน 31% มีมูลค่าอยู่ระหว่าง 5 – 10 ล้านบาท ส่วนอีก 30% เป็นบ้านเดี่ยวราคา 5 – 10 ล้านบาท ทั้งนี้ อัตราอุปทานของทาวน์เฮาส์มูลค่า 1-3 ล้านบาทมีอัตราสูงสุดที่ 34% แม้ว่าตัวเลขจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปทานในช่วงปลายปี 2020 แต่นั่นก็เกิดจากการที่เหล่านักพัฒนา หรือเจ้าของทรัพย์เร่งนำทรัพย์มาลงขายในช่วงปิดประเทศ มากกว่าการขายจากการเปิดตัวโครงการใหม่ คาดว่าปีหน้าราคาและอุปทานจะสมดุลกัน เนื่องจากนักพัฒนามุ่งเน้นไปที่การขายห้องชุดที่ยังไม่ได้ขายในย่านศูนย์กลางธุรกิจและเปิดโครงการใหม่ที่มีมูลค่า 1 ถึง 5 ล้านบาทเพื่อสนองความต้องการของผู้ซื้อที่มีอัตราซื้อสูงที่สุด