เป็นที่รู้กันดีว่า กฎหมายการถือครองที่ดินในประเทศไทยนั้น ห้ามไม่ให้ชาวต่างชาติเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เพียงแค่ที่ดินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบ้าน หรือที่พักอาศัยด้วย ซึ่งชาวต่างชาติที่ต้องการถือครองที่ดินในประเทศไทย ต้องยอมรับด้วยว่าหากกระทำการใดๆ โดยที่ไม่ได้รับคำแนะนำทางด้านกฎหมายที่เหมาะสม ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะขัดกับกฎหมายด้วยเช่นกัน
วิธีการที่ส่วนใหญ่นิยมทำเพื่อเลี่ยงการผิดกฎหมายคือ ให้ชาวต่างชาติจดทะเบียนบริษัทในไทย และต้องเป็นกิจการที่ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย นั่นหมายความว่าพวกเขาต้องมีการเสียภาษี และมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยร่วมด้วย (ผู้ถือหุ้นที่ได้รับการแต่งตั้ง และเพิ่งถูกเสนอชื่อนับเป็นเรื่องผิดกฎหมาย) ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยนั้นต้องเป็นนักลงทุนที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการดำเนินธุรกิจนั้นๆ โดยที่ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% และข้อตกลงของสิทธิในการเช่านั้นคือ คุณจะเป็นผู้มีสิทธิ์ถือครองอสังหาริมทรัพย์ในระยะยาว จากเจ้าของหรือนักพัฒนาที่ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นๆ (ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์สมบูรณ์) ซึ่งมีข้อจำกัดเพียงเล็กน้อยคือ ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ภายในประเทศไทยที่ต้องการเป็นเจ้าของที่ดิน (เช่น บ้าน หรือที่พักอื่นๆ) จะมีสิทธิ์เช่าถือครองได้ไม่เกิน 30 ปี
ในฐานะผู้เช่า ต่างชาติผู้นั้นจะมีสิทธิ์ในการ “ครอบครองโดยเฉพาะ” (สิทธิในการครอบครองที่จะไม่ถูกรบกวน) นั่นหมายความว่าผู้ถือครองมีสิทธิที่จะใช้ทรัพย์สินนั้นๆ ในการเป็นที่พักอาศัยของตนเอง หรือปล่อยเช่าตลอดระยะเวลาที่ถือครองก็ได้ โดยการทำสัญญาเช่านี้นั้นจะต้องจดทะเบียนที่กรมที่ดินด้วย และเมื่อดำเนินการทำสัญญาเสร็จสิ้น สัญญาเช่าฉบับนั้นจะมีผลผูกพันกับโฉนดที่ดิน การกระทำเช่นนี้นั้นมีความปลอดภัย และลดความเสี่ยงที่จะผิดกฎหมายมากกว่าการว่าจ้างบริษัทอื่นในไทยอย่างผิดกฎหมาย
นักพัฒนาหลายรายยังมีข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับการซื้อขายว่า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาเช่า จะสามารถต่อสัญญาได้อีกสองครั้ง ครั้งละ 30 ปี หมายความว่าสัญญาเช่าจะมีอายุได้ถึง 90 ปี (มักเรียกว่าการต่อสัญญาแบบ 30 + 30 + 30) ถึงแม้ว่าภายใต้กฎหมายของไทย การต่อสัญญาแบบนี้อาจไม่สามารถปฏิบัติได้แน่นอนร้อยเปอร์เซนต์ แต่หากผู้พัฒนา และนักกฎหมาย หรือทนายมีประสบการณ์เชี่ยวชาญในด้านนี้ ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสรับประกันว่าการต่อสัญญาจะประสบความสำเร็จ อีกหนึ่งทางเลือกนอกจากนี้คือ ให้ต่างชาติเป็นผู้ถือครองทรัพย์สินในส่วน อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง ตัวจริง แล้วทำการเช่าที่ดินจากเจ้าของ (ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์สมบูรณ์) โดยที่ผ็ถือครองที่ดินนั้นอาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทก็ได้ อย่างเช่น ผู้พัฒนาต่างๆ นั่นเอง
เนื่องจากข้อจำกัดในการถือครองที่ดินไม่มีผลต่อการเป็นเจ้าอาคาร สิ่งก่อสร้าง นักลงทุนต่างชาติบางรายจึงเช่าที่ดินในระยะยาวประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นถึงทำการก่อสร้างอาคาร และที่พัก ตามที่เขาต้องการบนที่ดินที่เช่าไว้